หลังจากที่ บ.จล.2 หรือ เครื่องบินโจมตีและลำเลียงแบบที่ 2 ( Spooky ) ฝูงบิน 404 ถูกปลดประจำการลง กองทัพอากาศจึงได้จัดหาเครื่องมือแบบใหม่ มาทดแทนโดยในปี 2545 Nomad 2 ลำแรกได้บินจากประเทศออสเตรเลีย มาถึงประเทศไทยและถูกนำเข้าบรรจุในฝูงบิน 402 และได้รับการดัดแปลง จากเครื่องบินลำเลียง เป็นเครื่องบินโจมตี ติดอาวุธด้วยปืนใหญ่อากาศ ขนาด 20 มิลลิเมตร Nomad ในนามเรียกขาน Vampire จึงได้ถือกำเนิดขึ้น และสานต่อภารกิจของ spooky เรื่อยมา
เครื่องบิน บ.จล.2 (spooky) จากฝูงบิน 402 กองบิน 4 อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ได้ออกปฏิบัติการสู้รบร่วมกับกำลังทางภาคพื้น ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และรอยต่อภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมื่อ spooky ถึงแก่ความชราภาพมีอายุการใช้งานมานานหลายสิบปี ชิ้นส่วนอะใหล่ขาดแคลน กองทัพอากาศจึงได้จัดหาเครื่องบิน Nomad ของประเทศออสเตรเลียมาทดแทน spooky โดยในปี พ.ศ. 2525 Nomad 2 ลำแรก ได้บินจากประเทศออสเตรเลียมาถึงประเทศไทย และเข้าบรรจุในฝูงบิน 402 กองทัพอากาศได้ทำการดัดแปลงจากเครื่องบินลำเลียงเป็นเครื่องบินลำเลียงโจมติดอาวุธปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มม. (M197) และให้นามเรียกขานว่า "Vampire" (บ.จล.9) เพื่อสานต่อภารกิจของ spooky กระทั่งเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2527 Vampire ได้เคลื่อนย้ายกำลังมาประจำการที่กองบิน 46 และn่อตั้งเป็นฝูงบิน 461 (ถือเอาวันที่ 21 ก.ย.27 เป็นวันสถาปนาฝูงบิน 461) ขณะเดียวกันเครื่องบิน Nomad ได้ทยอยเข้าบรรจุในฝูงบิน 461 จนครบจำนวนในปี พ.ศ. 253o ได้ปฏิบัติภารกิจร่วมรบกับกำลังภาคพื้นในยุทธการที่สำคัญ คือ ยุทธการดอยภูคา และจากการที่รัฐบาลใช้นโยบายการเมืองนำการทนาร ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/23 ทำให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จำนวนมากได้กลับใจเข้าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาดิไทย บทบาทของ Vampire ในการสู้รบจึงได้ลดน้อยลง
เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2530 กองกำลังทหารลาวได้เปิดฉากยิงรถแทร็คเตอร์ของบริษัททำไม้ของฝ่ายไทย บริเวณภูลอยดาวในเขตบ้านร่มเกล้า อ.ชาติตระการ ตอนเหนือของ จ.พิษณุโลก โดยฝ่ายลาวอ้างสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าวว่าเป็นของฝ่ายลาว จากนั้นเหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงขึ้น และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 253o กองทัพอากาศ ได้ใช้กองบิน 46 เป็นฐานวางกำลังทางอากาศร่วมปฏิบัติการกับกองกำลังภาคพื้น โดยมีการวางกำลังของ เครื่อง บ.ข.18ข/ค จำนวน 4 เครื่อง บ.ข.18 จำนวน 1 เครื่อง บ.จ.5 จำนวน 9 เครื่อง บ.ตล.7 จำนวน 2 เครื่อง บ.จ.6 จำนวน 4 เครื่อง ฮ.4n จำนวน 2 เครื่อง ฮ.6 จำนวน 1 เครื่อง และฝูงบิน 461 จัดเครื่อง บ.จล.9 เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจ บินคุ้มกันบินค้นหาและช่วยชีวิต รวมทั้งภารกิจลำเลียงทางอากาศ
กองบิน 46 ได้มีส่วนร่วมในการฝึกอบรมศิษย์การบินจากโรงเรียนการบินชั้นมัธยม ในส่วนนักบินลำเลียง ด้วยว่ากองบิน 46 มีสนามบินที่เหมาะสมกับการฝึก มีการจราจรทางอากาศที่ไม่หนาแน่นนัก อีกทั้งเครื่องบิน Nomad มีความเหมาะสมเป็นเครื่องฝึก มีความสิ้นเปลืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ต่อมาโครงการนี้ให้ล้มเลิกไป เมื่อปี พ.ศ. 2538 กองทัพอากาศจึงให้กองบิน 46 ร่วมกับ กองบิน 6 จัดทำหลักสูตรนักบินลำเลียงขั้นต้นขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง มุ่งหวังให้กองบิน 46 เป็นศูนย์ฝึกนักบินลำเลียงของกองทัพอากาศภายใต้กรอบแนวคิดที่จะผลิตนักบินลำเลียงที่เป็นมาตรฐานสากล (ตามที่ ICAO [International Civil Aviation Organization] และ F.A.A. [Federal Aviation Administration] กำหนดไว้) ซึ่งกองบิน 46 ก็ได้ทำภารกิจดังกล่าวให้แก่กองทัพอากาศในปีถัดมา ได้ผลิตนักบินลำเลียงจำนวน 5 รุ่นๆ ละ 10 คน จนกระทั่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โครงการดังกล่าวจึงยุติลง
ในปี พ.ศ. 253o ได้ทำการดัดแปลง เครื่องบิน Nomad เป็นเครื่องบินลำเลียง (บ.ล.9) รับ-ส่งบุคคลสำคัญ จำนวน 3 เครื่อง เป็นเครื่องบินกระจายเสียง ติตลำโพงขนาด 2,100 วัตต์ เพื่อปฏิบัติการจิตวิทยา จำนวน 3 เครื่อง เป็นเครื่องบินลำเลียงส่งกลับทางอากาศสายการแพทย์ จำนวน 2 เครื่อง และได้ย้ายโอนไปบรรจุที่ฝูงบิน 605 กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อดัดแปลงเป็น เครื่องบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ (บ.ตล.9) จำนวน 3 เครื่อง ปี พ.ศ. 2535 ได้เริ่มทำการดัดแปลงเครื่องบิน Nomad จำนวน 3 เครื่อง ใช้ในการปฏิบัติภารกิจฝนหลวง ต่อมาได้ดัดแปลงเพิ่มเติมอีก 3 เครื่อง รวมเป็น 6 เครื่อง
เครื่องบิน Nomad ซึ่งกองบิน 46 ใช้ประจำการได้รับการดูแลอย่างดี และได้ดัดแปลงเพื่อใช้งานได้อย่างคุ้มค่ากับเงินของแผ่นดิน